ตรวจเช็คน้ำรั่ว หาจุดรั่วด้วยเครื่องมือ หาจุดรั่วที่อยู่ใต้พื้นดินท่อประปาแตกรั่ว อยู่ใต้พื้นปูน จู่ๆค่าน้ำเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือการใช้งานเหมือนเดิม เป็นปกติ เมื่อลองเอาบิลค่าน้ำมาเปรียบเทียบกันก็จะเห็นว่าค่าน้ำนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆเดือน อาการของค่าน้ำที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่ที่พบเจอได้แต่การแตกแยกของท่อในใต้พื้นดิน จะไม่ใช่เป็นการหลุดของท่อ แต่เป็นการแตกของท่อ เพราะถ้าเป็นท่อที่มีรอยแตกนั้น ค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นจะไม่สูงขึ้นในทันที ทันได แต่จะเป็นการค่อยๆเพิ่มขึ้น เมื่อมีรอยแตกเกิดขึ้น น้ำก็จะฉีดออกที่จุดแตกตลอดเวลา และขยายรอยแตกค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่จะไม่มีการเตกที่ใหม่เพิ่มขึ้นเพราะแรงดันน้ำจะไม่สูงมาก แรงดันน้ำจะลดลงเนื่องจากจุดแตก

น้ำรั่วที่เกิดจากดินทรุด ดินถมไม่แน่น ไม่ได้ลงเสาเข็มเสากั้นกำแพงดิน ท่อประปาแตกหลุดเนื่องจากพื้นทรุด การตรวจเช็คสามารถทำได้โดยการตรวจวัดไปที่พื้น ในแนวท่อที่อยู่ใต้พื้นนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องขุดเจาะก่อน ทางทีมงานจะเน้นการตรวจเช็คหาจุดรั่ว เพื่อให้เจอจุดที่รั่วก่อนถึลจะคิดหาวิธีการซ่อม เพื่อที่จะไม่ให้เกิดคงาเสียหาต่อพื้นบ้านเป็นวงกว้าง การเจาะซ่อมท่อน้ำประปารั่วนั้นถ้าเป็นจุดที่อยู่ใต้พื้นบ้าน ใต้พื้นห้องน้ำ จะต้องคิดถึงการซ่อมคืนสภาพให้เพื่อนเดิมด้วย ควรจะเลือกให้การซ่อมคืนสภาพนั้นง่ายที่สุดและ น้อยที่สุดเป็นไปได้็จะซ่อมแบบไม่ต้องคืนสภาพเลย ใช้วิธีเลี่ยงการจเจาะพื้น แต่ใช้วิธีขุดดินรอบตัวบ้านแล้วซ่อมท่อประปาที่รั่วเอา(ถ้าทำได้)

น้ำประปายในบ้านไหลเบา แต่ก๊อกหน้าบ้านไหลแรง เสียค่าน้ำประปาเพิ่มสูงขึ้นทั้งๆที่การใช้งานคงเดิม อาการเหล่านี้บอกถึงได้ว่าอาจมีท่อประปาที่แตกอยู่ภายใต้พื้นบ้าน ใต้พื้นปูนหรือใต้อาคาร หาแตกในสถานที่แบบนี้บางครั้งบางที น้ำที่รั่วก็จะหายไปเลยไม่ได้ผุดขึ้นมาให้เห็น การเดินสำรวจหาจุดรั่วค่อนข้างที่จะยาก และที่ยากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ บ้านบางหลังตอนที่สร้างยังไม่มีการถมดินเพิ่ม แต่จะมาถมดินเพิ่มให้สูงขึ้นภายหลัง ดังนั้นท่อก็จะอยู่ลึกลงไปอีก น้ำที่ไหลออกจากที่ที่แตกก็จะหายไปเลยหรือไหลลงท่อน้ำทิ้ง เจ้าของบ้านจึงไม่รู้ว่าท่อประปาแตกรั่ว จะรู้ก็ต่อเมื่อบิลค่าน้ำมาเก็บ และค่าน้ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อไปดูที่มิเตอร์ก็จะเกิดการหมุนตลอดเวลาทั้งๆที่ไม่มีใครใช้น้ำ

ท่อประปาแตกจากการถูกรากไม้กดทับ หรือเบียดท่อรากต้นไม้ที่กดทับท่อจนท่อน้ำแตกซึม เมื่อมีน้ำแตกซึมแล้วก็จะทำให้ต้นไม้นั้นโตไวขึ้นและเขียวตลอด ยิ่งขยายรากแตกแขนงทำให้รากไม้ยิ่งดันท่อแตกเพิ่มขึ้น การแตกลักษณะแบบนี้เจ้าของบ้านเองจะเห็นก่อน เจอจุดรั่วง่ายๆ บางทีก็ไม่จำเป็นต้องจ้างช่างเข้าตรวจสอบจุดรั่วเลย แค่จ้างช่างมาซ่อมท่อแตกก็ได้ละ ค่าจ้างก็ไม่ค่อยแพงเท่าไหร่ ใครๆก็สามารถทำได้ บางที่เจ้าของบ้านก็ทำเองเลยก็มี ลักษณะการรั่วภายนอกบ้านเมื่อเจอน้ำผุดขึ้นบริเวณนั้นก็สามารถุดลงไปหาจุดรั่วได้เลย เมื่อซ่อมท่อเสร็จก็กลบดินเป็นอันเสร็จไม่ยุ่งยากเหมือนภายในบ้าน

บ้านบางหลัง ที่อยู่ๆ ค่าน้ำประปาเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ หรือ ปั๊มน้ำทำงานเองทั้งๆ ที่ไม่มีใครใช้น้ำเมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้แสดงว่าท่อน้ำประปาที่อยู่ภายในบ้านอาจจะรั่วที่ไหนสักที่หนึ่ง ซึ่งการหาจุดที่น้ำประปารั่วนั้นก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เจ้าของบ้านควรที่จะทำการตรวจสอบด้วยตนเองก่อนที่จะเรียกช่างเข้าทำการตรวจเช็คด้วยเครื่องมือ โดยตรวจสอบก๊อกน้ำทุกทุกจุดว่ามีน้ำหยดไหม หรือว่าปิดไม่สนิทไหม ปั๊มน้ำมีจุดรั่วซึมหรือไม่ และตรวจเช็คสุขภัณฑ์ โดยเฉพาะชักโครกให้ยกฝาออก เพื่อดูลูกลอยว่าตัดน้ำสนิทไหม สายฉีดมีน้ำหยดไหม ควจจะตรวจเมื่อไม่มีใครใช้ห้องน้ำนานๆ ห้องน้ำแห้งสนิท จะเช็คง่ายหน่อยแต่หากมั่นใจแล้วว่าทุกจุดไม่มีการรั่วซึม หากพบว่ามิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่หรือปั๊มน้ำทำงานเป็นพักๆ ก็ให้มั่นใจว่าจะมีจุดรั่ว ใต้พื้นบ้าน ใต้พื้นปูน รั่วในส่วนที่เจ้าของบ้านเช็คไม่ได้ ก็ให้เรียกช่างเข้าตรวจเช็คท่อน้ำรั่วได้เลย

ท่อประปาแตก พื้นบ้านทรุดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่อประปาแตกได้ การที่ท่อน้ำประปาแตกใต้พื้นบ้าน ถ้าแตกไม่เยอะเจ้าของบ้านก็จะยังไม่รู้ตัว จนกระทั่งบิลค่าน้ำมาเก็บ ถึงจะรู้ว่าค่าน้ำแพง จึงจะหาสาเหตุของค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น อาการท่อน้ำแตกใต้พื้นบ้าน ที่เป็นกระเบื้อง เป็นพื้นปูนจะไม่มีอะไรให้เราสังเกตุได้ว่ามีท่อน้ำแตกบริเวณนี้ จะไม่เหมือนท่อแตกในส่วนที่อยู่ใต้พื้นดิน ลักษณะที่บ่งบอกได้ว่าท่อน้ำประปาอาจจะมีการแตกรั่วภายในบ้าน บ้านไหนที่มีปั๊มน้ำจะสังเกคุได้ง่ายกว่า บ้านที่ใช้น้ำประปาเข้าบ้านโดยตรง ถ้ามีปั๊มน้ำให้สังเกตุปั๊มน้ำจะทำงานเป็นช่วงๆ ระยะห่างการทำงานและการหยุดทำงานของปั๊มน้ำจะมีระยะเวลาที่เท่าๆกัน หรือสนามหญ้า ดังนั้นถ้าสังเกตุสังเกตุได้ว่าอาจจะมีท่อประปาแตกสักแห่ง ก็สามารถเรียกช่างเข้าตรวจสอบได้